มุมมองต่อฟาซาด กับการสื่อสารงานสถาปัตยกรรม


จูน เซกิโน่

หากจะพูดว่า ฟาซาดเป็นหน้าตาของสถาปัตยกรรม ก็คงจะไม่ผิดนัก เพราะฟาซาดคือมุมมองแรกเห็นของอาคาร หากแต่ความหมายของฟาซาดมีมากกว่าที่เราคิด ทั้งเรื่องความงาม ฟังก์ชั่น และบ่งบอกความเป็นตัวตน เราชวน คุณจูน เซกิโน่ แห่ง Junsekino Architect and Design พูดคุยเกี่ยวกับฟาซาดดีไซน์ ตั้งแต่ความหมาย จากอดีตถึงปัจจุบัน ความสนุกในการทำงานฟาซาดดีไซน์ ไปจนถึงอนาคตของงานออกแบบฟาซาดของสถาปัตยกรรม

นิยามคำว่าฟาซาดในทรรศนะของคุณจูน

จริงๆ ฟาซาดผมมองว่ามันพึ่งมาพูดกันไม่นานนี้เอง ในความรู้สึกของผมนะ เมื่อก่อนอาคารมันก็คงในแง่ของตัว โครงสร้างก็บอกตัวตนของอาคาร การออกแบบเอง แต่กับฟาซาด หลักๆ มันทำหน้าที่มากกว่าเรื่องของโครงสร้าง มากกว่าองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม มันข้ามไปเรื่องของตัวตนของผู้ใช้งานข้างใน ตัวตนของแบรนด์ หรือข้าม ไปเป็นตัวบ่งชี้กิจกรรม กิจการ พฤติกรรมที่อยู่ในอาคาร ซึ่งฟาซาดเป็นหนึ่งในเครื่องมือ อาจจะไม่ใช่เครื่องมือหลัก แต่เป็นส่วนประกอบที่ทำให้คนรับรู้ เข้าใจได้ว่าอาคารนี้ทำอะไร ต้องการสื่ออะไร และเชื่อมโยงกับผู้คนอย่างไร

ถ้าเป็นยุคหนึ่ง เราก็คงใช้การขายแบบขายตรง งานกราฟิกเขียนบอกโดยตรง แต่ปัจจุบันนี้ ผมมองว่าฟาซาดกลม กลืนกลายเป็นคาแร็กเตอร์ของตัวอาคาร พูดง่ายๆ ว่าบอกว่าเราเป็นใครผ่านทางสถาปัตยกรรม เหมือนกับหน้ากาก มือถือ หรือเสื้อผ้าที่สวมใส่ ฟาซาดก็บอกบุคลิกของอาคารเหมือนกัน

คุณสมบัติของฟาซาด

ข้อแรก มันเป็นภาษาหรือข้อมูลในการสื่อสารได้ ข้อสอง ฟาซาดเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร อย่างการป้องกันแดดลมฝน แสดงว่าเริ่มมีฟังก์ชั่นในทางสถาปัตยกรรมมากกว่าการแสดงตัวเอง ผมรู้สึกว่านี่แหละเป็นสิ่งที่น่าสนใจ คือมันไม่ใช่ แค่ทำให้รับรู้ แต่มันสามารถเป็นส่วนหนึ่งของอาคารได้ หรือถ้าตัวมันเอง สามารถเพิ่มฟังก์ชั่นมากกว่าที่เราคุ้นเคยเข้าไปอีก อาจจะเป็นโซลาร์เซลล์ หรือเป็นสวนแนวตั้ง ก็ทำ ให้เรากลับมาคิดว่า หรือจริงๆ มันสามารถเติมเต็มบางอย่างที่อาคารมีไม่ได้ เช่นตึกแถวอยากมองเห็นต้นไม้ ฟาซาดก็ เป็นสวนแนวตั้งให้ได้ สุดท้ายฟาซาดก็เป็นการเชื่อมโยงผู้คนผ่านทางการมองเห็นและความรู้สึก

ฟาซาดกับไลฟ์สไตล์

ฟาซาดจะมีสองแบบ คือตั้งใจให้มีมาตั้งแต่ขั้นการออกแบบก่อสร้าง และอีกอย่างคือใช้สำหรับการแก้ปัญหาในการ เปลี่ยนลุคอาคาร อย่างตึกแถวอายุมากในเมืองหรืออาคารที่เช่ามาด้วยข้อกำหนดที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไร ได้มาก ฟาซาดคือการสัมผัสกับตัวอาคารเบาๆ แต่เปลี่ยนเยอะ พูดง่ายๆ ก็คือทำน้อยแต่ Effect เยอะ สำหรับบ้านที่อยู่อาศัย ฟาซาดก็เกี่ยวข้องกับเทรนด์ของงานออกแบบด้วย ยุคหนึ่งเราต้องการเปิดออกมากๆ แต่บาง ทีก็ไม่ต้องการโชว์เลย หรืออยากโชว์แต่ไม่เอิกเกริก ซึ่งความย้อนแย้งอันนี้เป็นความขัดแย้งที่มีเสน่ห์​ และผมมองว่า ฟาซาดนี่แหละที่เข้ามาอยู่ตรงกลางระหว่างสองเรื่องนี้ที่ต่างกันสุดขั้ว

ปัญหาสำหรับบ้านในเมืองไทย ก็จะเป็นเรื่องแสงสว่าง ความร้อน การระบายอากาศ ซึ่งเราต้องการแสงสว่างและการ ระบายอากาศ แต่แน่นอนมันก็มาพร้อมกับความร้อน ฟาซาดดีไซน์ก็มีมาเพื่อสิ่งนี้แหละ มันคือความคิดสร้างสรรค์ใน การออกแบบเพื่อการปกป้องบ้านหรืออาคาร ทั้งเรื่องความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว อารมณ์ และการอยู่สบาย


นวัตกรรมวัสดุอะคริลิก กับฟาซาดอาคาร

เราจะสื่อสาร เดินทางไปกับวัสดุชิ้นไหน เราต้องเข้าใจเขาก่อน ไม่มีวัสดุไหนในโลกที่ดีสุดหรือแย่สุด มันเป็นความ เหมาะสมในการใช้ของแต่ละโจทย์ สถาปนิกจึงต้องบาลานซ์ในเรื่องการใช้วัสดุให้ดี
อะคริลิกมีข้อดีที่ตอบกับไลฟ์สไตล์การใช้อาคารหลายอย่าง ด้วยพื้นฐานวัสดุที่สามารถกันน้ำ กันเปียกได้ บวกกับ คุณสมบัติที่เราต้องการกรองแสง กันความร้อน ก็สามารถเลือกค่าการกรองแสง หรือความทึบในสเปคที่ต้องการ บางคนอาจจะคิดว่าแผ่นอะคริลิกเป็นแค่หลังคาหรือชายคา แต่เราอาจจับมาพลิกแพลงเป็นผนังหรือพื้นก็ได้ คือ ฟังก์ชั่นมันได้อยู่แล้ว แต่ปรากฏการณ์หลังจากนั้นมันเกิดอะไรบ้าง มันอาจจะให้คำตอบมากกว่าเรื่องของฟังก์ชั่น แต่เป็นการตอบคำถามในเรื่องอารมณ์ ช่วงเวลาของแสง ทำให้อาคารดูมีมิติขึ้น ผมมองว่ามันคือการที่เราเล่นกับ ปรากฏการณ์ของมันที่เกิดขึ้น ข้อควรคำนึงของการออกแบบฟาซาดคือ เราไม่ได้ต้องการการใช้งานในแง่ของความแข็งแรง แต่เราต้องการมิติ ทางการมองเห็น ความรู้สึก การสื่อสาร รวมถึงความปลอดภัย เพราะฟาซาดอยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งพาโครง สร้าง ซึ่งอะคริลิกเองก็มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย การจัดการระหว่างก่อสร้าง ไปจนถึงการดูแลรักษาซ่อมแซมก็ทำ ได้ง่าย

อีกเรื่องของอะคริลิกคือ นวัตกรรมของตัววัสดุที่ไปไกลมากแล้ว คุณสมบัติเรื่องความคงทน สี การดัดโค้ง ความ หลากหลายให้เลือกมาใช้งานมีมากมายแน่นอนอยู่แล้ว แต่หลังจากการใช้งาน วัสดุอะคริลิกสามารถรียูสได้ หรือ ถ้าเสียหายก็สามารถเอาไปรีไซเคิลได้ สิ่งที่เราทำตอนนี้เป็นปัจจัยสี่ของมนุษย์ เราหนีไม่พ้นเคมีภัณฑ์หรอก แต่ จะทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้อย่างมีเหตุและผล แล้วก็เวียนกลับมาใช้งานได้ใหม่อีกครั้ง


"LINK" งานฟาซาดดีไซน์ในงานสถาปนิก '65

เราดีไซน์จากเศษอะคริลิกชิ้นเล็กที่สุด เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือเราคิดในจุดที่มันเล็กที่สุดเท่าที่จะเกิด ขึ้นได้แล้ว การคิดเล็กไปใหญ่มันง่ายกว่าคิดใหญ่ไปเล็ก เราคำนึงถึงการออกแบบที่ได้ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่า ไม่เหลือ เศษ การคิดตั้งแต่ต้นทาง สู่ปลายทาง ผ่านภาษาการออกแบบ ด้วยข้อดีของอะคริลิกชิ้นเล็กที่น้ำหนักเบา แต่ แข็งแรง ประกอบสร้างเป็นฟอร์มใหม่ทำได้ง่าย และยังสามารถเชื่อมโยงไปกับวัสดุอื่นๆ ได้อีก แทรกซึมเข้าไปได้ ทั้งกับงานภายใน ภายนอก หรือเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์ ผมมองว่ามันหมดยุคแล้วที่เราจะ One Man Show โชว์ทุกอย่างในวัสดุเดียว เรามองว่าทุกคนทุกสิ่งครอสกันได้ ทั้งตัววัสดุเองที่ประยุกต์จากแผ่นหลังคาไปทำเป็นอย่างอื่นได้ไหม หรือประกอบร่วมกับวัสดุอื่นได้ไหม ผมว่ามัน น่ารักดี เลยอยากลองพาวัสดุชิ้นนี้ไปในมิติอื่นดู​

พบกับงานฟาซาดดีไซน์ของ Junsekino Architect and Design ที่บูธ Shinkolite โซน SCG ในงานสถาปนิก '65 ระหว่างวันที่ 26 เมษายน - 1 พฤษภาคม ที่เมืองทองธานี